เทศบาลตำบลวังหว้า
Wangwa Subdistrict Municipality
นายปริญญา วราสินธุ์
นายกเทศมนตรีตำบลวังหว้า

ยุทธศาสตร์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

          ยุทธศาสตร์ของเทศบาลตำบลวังหว้า

          1) วิสัยทัศน์ (Vision)

ตำบลวังหว้าน่าอยู่ เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ ควบคู่วัฒนธรรมประเพณี สู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างยั่งยืน

          2) ยุทธศาสตร์ (Strategic Issues)

                    ยุทธศาสตร์ที่ ๑  การพัฒนาคุณภาพผลผลิตทางการเกษตร อุตสาหกรรม เกษตรอุตสาหกรรม พาณิชย-

                                                กรรม การแปรรูปและผลิตภัณฑ์ เพื่อการบริโภคและการพาณิชย์

                    ยุทธศาสตร์ที่ ๒  พัฒนาการท่องเที่ยวและการกีฬา เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ

          ยุทธศาสตร์ที่ ๓  การยกระดับคุณภาพชีวิต และความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน

                    ยุทธศาสตร์ที่ ๔  การขยายโอกาสและคุณภาพในการศึกษาทุกระดับให้ตรงกับความต้องการประชาชน

                    ยุทธศาสตร์ที่ ๕  การส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมควบคู่การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติสู่ความยั่งยืน

                    ยุทธศาสตร์ที่ ๖  การส่งเสริมสถาบันของชาติและการนำการเปลี่ยนแปลงด้านการบริหารและบริการ

                                      เพื่อประโยชน์ของประชาชน

                   ยุทธศาสตร์ที่ 7  การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบสาธารณูปโภคให้อยู่ในเกณฑ์ที่ได้มาตรฐาน

          3) เป้าประสงค์ (GOALS) มีดังนี้

                    ๑. การส่งเสริมอาชีพด้านการแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์สินค้าเกษตร เพื่อการบริโภคและการพาณิชย์

                    ๒. การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวโดยการปรับปรุงและบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมแบบยั่งยืน

                    ๓. การยกระดับคุณภาพชีวิตและความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนทุกระดับอย่างทั่วถึง

                    ๔. ส่งเสริมสนับสนุนการศึกษา ศาสนา วัฒนธรรมประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และการกีฬา แก่เด็ก เยาวชน และประชาชน

                    ๕. พัฒนาประสิทธิภาพการบริหารและการจัดการขยะมูลฝอยในชุมขน

                    ๖. พัฒนาประสิทธิภาพการบริหารงานของเทศบาลอย่างต่อเนื่อง และเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารงาน และการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานของเทศบาล

                   7. พัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานให้ได้มาตรฐาน เพื่อผลประโยชน์สุงสุดของประชาชน

         4) ตัวชี้วัด (KPIs) มีดังนี้

                    1. มีกลุ่มอาชีพด้านการแปรรูปผลิตภัณฑ์สินค้าเกษตร

                    2. มีแหล่งท่องเที่ยวให้มีความสวยงาม สะอาด และมีศักยภาพสามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวได้

                    3. ประชาชนมีความปลอดภัยในชีวิต และทรัพย์สิน

                   4. เด็ก เยาวชน ได้รับการศึกษาตามมาตรฐานการศึกษา

                    5. ปริมาณขยะมูลฝอยลดลง จากการบริหารจัดการขยะที่มีประสิทธิภาพ

                    6. การบริหารงานของเทศบาลมีประสิทธิภาพ โปร่งใส ตรวจสอบได้

                   7. ระบบโครงสร้างพื้นฐานกระจายทั่วทั้งตำบล ประชาชนได้รับประโยชน์สุงสุด

 

          5) ค่าเป้าหมาย (Target values) มีดังนี้

                    ๑. ประชาชนมีอาชีพ มีรายได้เพิ่มขึ้น และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

                    ๒. มีนักท่องเที่ยวเข้ามาเที่ยวเพิ่มมากขึ้น สร้างรายได้ให้แก่ชุมชน

                    ๓. ประชาชนมีความปลอดภัยในการดำรงชีวิต และมีสุขภาพแข็งแรง

                    ๔. เด็ก เยาวชน ได้รับการศึกษาตามมาตรฐานการศึกษา

                    ๕. ปริมาณขยะมูลฝอยลดลง จากการบริหารจัดการขยะที่มีประสิทธิภาพ

                   6. การบริหารงานมีมีประสิทธิภาพ โปร่งใส ตรวจสอบได้ ประชาชนได้รับการบริการอย่างเป็นธรรม

                   7. ประชาชนได้รับบริการด้านโครงสร้างพื้นฐานกระจายทั่วทั้งตำบลอย่างเท่าเทียม

          6) กลยุทธ์ (Strategies) มีดังนี้

                    ๑. อบรมให้ความรู้ด้านการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรให้กับประชาชน

                    ๒. ปรับปรุง พัฒนาแหล่งท่องเที่ยว ให้มีภูมิทัศน์ที่สวยงามเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยว

                    ๓. จัดงานประเพณีเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยว

                    4. ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาระบบการจัดการขยะมูลฝอย

                    5. ส่งเสริมการอนุรักษ์ ฟื้นฟู ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

                    6. การพัฒนาระบบกำจัดขยะมูลฝอย

                    7. ส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน

                    8. ส่งเสริมการรักษาสุขภาพอนามัยอย่างถ้วนหน้า

                    9. การป้องกันบรรเทาสาธารณภัยและความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน

                    10. สร้างเสริมสังคมให้เข้มแข็งเพื่อห่างไกลยาเสพติด

                    11. ส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนได้รับการศึกษาตามมาตรฐานการศึกษา

                    12. ส่งเสริมการอนุรักษ์ขนบธรรมเนียม ประเพณีและวัฒนธรรมท้องถิ่น

                    13. ส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมการกีฬา

                    14. ส่งเสริมการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี

                    15. เพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการแก่ประชาชน

                    16. พัฒนาบุคลากรและจัดหาวัสดุอุปกรณ์ในการดำเนินงานอย่างมีคุณภาพและเหมาะสม

                    17. พัฒนาการก่อสร้างและปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน

                    18. ปรับปรุงระบบสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ

          7) จุดยืนทางยุทธศาสตร์ (Strategic stances) มีดังนี้

          ๑. การพัฒนาคุณภาพผลผลิตทางการเกษตร มุ่งส่งออกสินค้าเกษตร อุตสาหกรรม และส่งเสริมเศรษ ฐกิจให้เข้มแข็ง

                   ๒. การเสริมสร้างและพัฒนาการท่องเที่ยวโดยการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้เกิดความสมดุล

                    ๓. การพัฒนาคุณภาพชีวิต เด็ก สตรี คนชรา และผู้ด้อยโอกาส ตลอดจนความมั่นคงและปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน

                    ๔. การพัฒนาระบบการศึกษา ตลอดจนอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น และส่งเสริมการกีฬาให้แก่เด็ก เยาวชน และประชาชนทั่วไป

 

                    ๕. การพัฒนาด้านการบริหารและการปกครองตามหลักบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี โดยคำนึงถึงการมีส่วนร่วมของประชาชน

                    ๖. การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ระบบสาธารณูปโภค และสาธารณูปการ ให้ได้มาตรฐานและเพียงพอต่อความต้องการของประชาชน

          8) ความเชื่อมโยงของยุทธศาสตร์ในภาพรวม

จากประเด็นความเชื่อมโยงยุทธศาสตร์ที่สำคัญของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12  ยุทธศาสตร์ชาติ และยุทธศาสตร์จังหวัดจะเห็นได้ว่ามีความเชื่อมโยงกันอย่างชัดเจนในการนำมาเป็นแนวทางกำหนดประเด็นยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งการกำหนดประเด็นยุทธศาสตร์การพัฒนาที่ชัดเจนจะเป็นการเตรียมการพัฒนา เป็นการนำภูมิคุ้มกันที่มีอยู่ พร้อมทั้งเสริมสร้างภูมิคุ้มกันในท้องถิ่นให้เข้มแข็งขึ้น เพื่อเตรียมความพร้อมคน สังคม และระบบเศรษฐกิจของชุมชนให้สามารถปรับตัวรองรับผลกระทบจากสภาวะการณ์ที่เปลี่ยนแปลงได้อย่างเหมาะสม โดยให้ความสำคัญกับการพัฒนาคน สังคมเศรษฐกิจภายในชุมชนให้มีคุณภาพ ใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ภายในชุมชนอย่างคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด รวมทั้งสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจด้วยฐานความรู้ เทคโนโลยี นวัตกรรม และความคิดสร้างสรรค์ บนพื้นฐานการผลิตและการบริโภคที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาเพื่อประโยชน์สุขที่ยั่งยืนของชุมชนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง