ศิลปวัฒนธรรม ประเพณี (ประเพณี ความเชื่อ อาหาร การละเล่น งานศิลป์ ฯลฯ)
ประเพณี งานงิ้วประจำปี ศาลเจ้าพ่อบ้านตลาดวังหว้า
ประเพณี งานงิ้วประจำปี ศาลเจ้าพ่อบ้านตลาดวังหว้า ตรงกับช่วงเดือนกรกฎาคม ของทุกปีเดิมบ้านตลาดวังหว้ามีคนไทยเชื้อสายจีนอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก จึงมีขนบธรรมเนียมประเพณีที่เกี่ยวกับการสืบทอดประเพณีจีนของคนไทยเชื้อสายจีน การจัดงานงิ้วประจำปีของบ้านตลาดวังหว้าก็ถือเป็นการสืบทอดประเพณีจีนของคนไทยเชื้อสายจีนที่อาศัยอยู่ ณ บ้านตลาดวังหว้า ตำบลวังหว้า อำเภอศรีประจันต์จังหวัดสุพรรณบุรี การจัดงานงิ้วประจำปีของบ้านตลาดวังหว้า จะจัดขึ้นประมาณ 10 วัน เพื่อแสดงความเคารพต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์
ตรงกับขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ของทุกปี ซึ่งเป็นประเพณีที่สำคัญอย่างหนึ่งของไทยที่มีมาแต่โบราณได้ถือปฏิบัติตามความเชื่อของแต่ละท้องถิ่น เช่น เพื่อเป็นการให้ความเคารพบูชาและขอบคุณน้ำที่อำนวยประโยชน์ต่าง ๆ ต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์ รวมทั้งเป็นการขอขมาลาโทษที่มนุษย์ได้ใช้ประโยชน์หรือทำความเสียหายแก่น้ำชาวบ้านวัดเกาะได้ร่วมมือกันจัดประเพณีลอยกระทงขึ้นทุกปีโดยมีการทำบุญตักบาตรในตอนเช้าและมีการแข่งขันกีฬาพื้นบ้าน เช่น พายเรือกะทะ ปิดตาตีหม้อเป็นต้น ส่วนภาคตอนกลางคืนมีมหรสพและการลอยกระทงลงในลำน้ำท่าคอยเป็นประจำทุกปี ที่วัดเกาะ หมู่ที่ 5 ตำบลวังหว้าอำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี
เป็นวันขึ้นปีใหม่ของไทย ซึ่งยึดถือปฏิบัติสืบเนื่องกันมาแต่โบราณ และเป็นวัฒนธรรมประจำชาติ
ที่งดงามฝังลึกอยู่ในชีวิตของคนคำว่า “สงกรานต์” มาจากภาษาสันสฤกตว่า สงกรานต แปลว่า ก้าวขี้น ย่างขึ้น หรือก้าวขึ้น การย้ายที่ เคลื่อนที่ คือพระอาทิตย์ย่างขึ้น สู่ราศีใหม่ หมายถึงวันขึ้นปีใหม่ ซึ่งตกอยู่ในวันที่ 13,14,15 เมษายนทุกปี แต่วันสงกรานต์นั้นคือ วันที่ 13 เมษายน เรียกว่า“วันมหาสงกรานต์ “แปลว่า ก้าวขึ้นหรือย่างขึ้นครั้งใหญ่ หมายถึงสงกรานต์ปี คือปีใหม่อย่างเดียว กล่าวคือสงกรานต์ หมายถึงได้ทั้งสงกรานต์เดือนและสงกรานต์ปี แต่มหาสงกรานต์ หมายถึง สงกรานต์ปีอย่างเดียว วันที่ 14 เป็นวันเนา แปลว่า “วันอยู่” คำว่า “เนา” แปลว่า "อยู่" หมายความว่าเป็นวันถัดจากวันมหาสงกรานต์ มา 1 วัน วันมหาสงกรานต์เป็นวันที่ดวงอาทิตย์ย่างสู่ราศีตั้งต้นปีใหม่ วันเนาเป็นวันที่ดวงอาทิตย์เข้าที่เข้าทาง ในวันราศีตั้งต้นใหม่เรียบร้อยแล้ว คืออยู่ประจำที่แล้ว วันที่ 15 เป็น “วันเถลิงศก” เป็นวันเปลี่ยนจุลศักราชใหม่ การที่เปลี่ยนวันขึ้นศกใหม่มาเป็นวันที่ 3 ถัดจากวันมหาสงกรานต์ การจัดประเพณีวันสงกรานต์ในเขตพื้นที่ตำบลวังหว้า จะมีการจัดประเพณีวันสงกรานต์ทุกวัด โดยในตอนเช้าจะมีการทำบุญตักบาตร ทุกวัน และ
จะมีประเพณีสงฆ์น้ำพระในช่วงบ่าย ซึ่งในแต่ละวัดก็จะกำหนดวันสงฆ์น้ำพระที่แตกต่างกันไป เช่น วัดเกาะสงฆ์น้ำพระ ในวันที่ 17 เมษายน ของทุกปี วัดดงขี้เหล็ก สงฆ์น้ำพระ ในวันที่ 15 เมษายนของทุกปีและวัดบ้านคลองชะโด สงฆ์น้ำพระในวันที่ 16 ของทุกปี ส่วนองค์การบริหารส่วนตำบลวังหว้า จะจัดงานรดน้ำขอพรผู้สูงอายุโดยจัดที่ ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลวังหว้าเป็นประจำทุกปี